Footer คือ ส่วนที่แสดงผลอยู่ด้านล่างสุดของเว็บไซต์ เพื่อบอกรายละเอียดข้อมูลติดต่อ เกี่ยวกับบริษัท และที่อยู่ของบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของบริษัท
เป็นส่วนที่แสดงผลอยู่ด้านล่างสุดของเว็บไซต์ โดยจะแสดงผลอยู่ในทุกๆ หน้าของเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์สามารถเลือกรูปแบบจะแสดงผลได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละเว็บไซต์
วิธีการตั้งค่า Footer
เข้าระบบจัดการเว็บไซต์ Ketshopweb
(ตำแหน่งที่ 1) คลิก "ปรับแต่ง"
(ตำแหน่งที่ 2) คลิก "Footer"
เมื่อเข้ามายังหน้า Footer จะปรากฏหน้าให้ตั้งค่าโดยจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบการจัดการย่อยดังนี้
(ตำแหน่งที่ 1) Background เป็นเมนูสำหรับการปรับแต่งพื้นหลังในส่วนของ Footer
(ตำแหน่งที่ 2) Widget เป็นเมนูสำหรับจัดการกล่องการแสดงผลต่างๆ ไม่ว่าจะเพิ่ม-ลบ กล่องเมนูก็สามารถทำได้
(ตำแหน่งที่ 3) Layout เป็นรูปแบบการแสดงผลของบริเวณด้านล่าง ซึ่งแต่ละ Layout จะมีการแสดงผลที่แตกต่างกันออกไป
1. การตั้งค่า Background Footer
(ตำแหน่งที่ 1) คลิกที่รูปกุญแจไขควง
จากนั้นจะปรากฏหน้าการตั้งค่าพื้นหลังออกมามี 2 เครื่องมือการตั้งค่า
1.1 "ตั้งค่า" เป็นการตั้งค่าภาพพื้นหลัง แบ่งออกเป็น 4 ส่วน
(ตำแหน่งที่ 1) Padding คือ ระยะห่างของตัวอักษรภายในภาพกับกรอบนอกสุด แต่เป็นการปรับทั้ง 4 ด้านพร้อมกันสามารถกดที่ปุ่มเพื่อปรับในส่วนของแต่ละด้านได้
(ตำแหน่งที่ 2) Margin คือ ระยะห่างของภาพพื้นหลังกับกรอบนอกสุด แต่เป็นการปรับทั้ง 4 ด้านพร้อมกัน สามารถกดที่ปุ่มเพื่อปรับในส่วนของแต่ละด้านได้
(ตำแหน่งที่ 3) Corner คือ ความโค้งมนมุมของขอบภาพพื้นหลัง แต่เป็นการปรับทั้ง 4 ด้าน
พร้อมกัน สามารถกดที่ปุ่มเพื่อปรับในส่วนของแต่ละด้านได้
(ตำแหน่งที่ 4) Border คือ กรอบของรูปภาพ แต่เป็นการปรับทั้ง 4 ด้านพร้อมกัน สามารถกดที่ปุ่ม เพื่อปรับในส่วนของแต่ละด้านได้ สามารถตั้งค่าลักษณะสีของเส้นนขอบได้ 8 แบบ คือ
(ตำแหน่งที่ 5) Shadow คือ เปิด-ปิดเงาของภาพพื้นหลัง
1.2 "พื้นหลัง" เป็นการตั้งค่าสีและรูปภาพพื้นหลัง
(ตำแหน่งที่ 1) คือส่วนของภาพพื้นหลังสามารถคลิกตรงพื้นที่ในตำแหน่งที่ 1 เพื่อใส่รูปภาพที่ต้องการได้
(ตำแหน่งที่ 2) คือส่วนของสีพื้นหลัง สามารถเลือกสีได้
(ตำแหน่งที่ 3) คือค่าความทึบแสงของสีที่เราเลือก ยิ่งค่าน้อยสียิ่งจาง ยิ่งค่าเยอะสียิ่งเข้ม
(ตำแหน่งที่ 4) คือค่าความเบลอ/ความชัดเจนของรูปภาพ
2. การตั้งค่า Widget Footer
2.1 ตั้งค่าภาษา
(ตำแหน่งที่ 1) คือในส่วนของการเลือกโหมดภาษา footer ในส่วนของภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แถบภาษาจะขึ้นก็ต่อเมื่อเราเปิดโหมดการใช้งานหลายภาษา โดยจะมีภาษาไทยเป็นพื้นฐาน
2.2 การตั้งค่าแถว โดยการเพิ่ม Footer
(ตำแหน่งที่ 2) คือปุ่ม "เพิ่มแถว" เพื่อเพิ่มแถวเนื้อหาของ Footer เมื่อกดปุ่มดังภาพ
2.3 การตั้งค่าการเพิ่ม/แก้ไขรายละเอียดเนื้อหา
(ตำแหน่งที่ 1) คลิกที่รูปบวก
(ตำแหน่งที่ 2) คลิกที่รูปบวก เพื่อเพิ่มจำนวนคอลัมน์
จากนั้นจะมี Pop Up หน้าต่าง Element ให้เลือกเพื่อเพิ่มเนื้อหาที่ต้องการ
เลือกเสร็จแล้วคลิก "Add Element"
เมื่อทำการเพิ่ม Element ส่วนต่างๆ แล้วสามารถทำการแก้ไขรายละเอียดเนื้อหาส่วนต่างๆ ได้
(ตำแหน่งที่ 1) คือ ปุ่มตั้งค่าสามารถจัดการหน้าตั้งค่าได้
(ตำแหน่งที่ 2) คือ ปุ่มเพิ่มแถว
(ตำแหน่งที่ 3) คือ ปุ่มโคลนคอลัมน์ เป็นการคัดลอกคอลัมน์เพิ่มโดยมีเนื้อหารายละเอียดเหมือนกัน
(ตำแหน่งที่ 4) คือ ปุ่มลบเนื้อหารายละเอียด เนื้อหาใน Section นั้นๆ
3. การตั้งค่า Layout Footer
(ตำแหน่งที่ 1) คือ ปุ่มตั้งค่าสามารถจัดการหน้าตั้งค่าได้
(ตำแหน่งที่ 2) คือ ปุ่มเพิ่มแถว
(ตำแหน่งที่ 3) คือ ปุ่มโคลนคอลัมน์ เป็นการคัดลอกคอลัมน์เพิ่มโดยคอลัมน์ที่มีเนื้อหาละรายเอียดเหมือนกันอีก 1 คอลัมน์
(ตำแหน่งที่ 4) คือ ปุ่มลบเนื้อหารายละเอียดคอลัมน์นั้นๆ
Ketshopweb | ระบบร้านค้าออนไลน์ ขายคล่อง ส่งสะดวก ครบในที่เดียว
เรายินดีให้คำปรึกษาการทำเว็บไซต์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ติดต่อมาที่ 02-038-5588 , email : sales@ketshopweb.com