ปัจจุบันเหล่าเจ้าของธุรกิจเริ่มหันมาสนใจสร้างคอมมูนิตี้ เพื่อเป็นพื้นที่รวมสิ่งที่น่าสนใจให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นคอมมูนิตี้ศูนย์รวมความรู้ คอมมูนิตี้เพื่อแม่ค้ามือใหม่ คอมมูนิตี้สินค้าน่ารัก ๆ โดนใจวัยรุ่น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่ธุรกิจมี เกิดเป็นคอมมูนิตี้ที่ไม่ได้มีไว้พูดคุยสอบถาม แต่เสมือนเป็นช่องทางการสื่อสารและศูนย์รวมคนมีความชอบแบบเดียวกัน มารวมไว้ด้วยกัน ซึ่งเราเรียกศูนย์รวมความน่าสนใจนี้ว่า Brand Community
ก่อนไปถึงการสร้าง Brand Community อย่างไร? ให้โดนใจลูกค้า มาทำความรู้จัก ประเภทของ Brand Community ก่อนว่ามีทั้งหมดกี่ประเภทแล้วแต่ละประเภทเป็นอย่างไร
รูปแบบของ Brand Community
1. Online Forum
ศูนย์รวมแหล่งพูดคุยของคนชอบพูด หากอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ เว็บบล็อกหรือเว็บไซต์ ที่รวบรวมสาระความรู้ เรื่องที่น่าสนใจมาไว้ด้วยกัน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แจ้งข่าวสาร หรือสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จาก Online Forum โปรโมทสินค้าและบริการได้ง่าย ๆ
2. Group Social Media
จัดว่าเป็นกลุ่มที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสาร หรือร่วมพูดคุยเรื่องราวที่ผู้คนสนใจ มีหลายแพลตฟอร์ม ได้แก่ Facebook, Instagram, Blockdit และ Blognone เป็นต้น นอกจากนี้กลุ่มโซเชียลมีเดียยังเป็นตัวแปรสำคัญในการเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าหรือธุรกิจได้มากอีกด้วย เพราะนอกจากการพูดคุยและแจ้งข่าวสาร ยังโปรโมทสินค้าโปรโมชั่นหรือส่วนลดผ่านการโพสต์รูปภาพสินค้า เพิ่มข้อความสร้างการจดจำและดึงดูดลูกค้าได้อีกด้วย
3. Brand Ambassador
ทูตผู้เป็นตัวแทนของแบรนด์ หลาย ๆ คนอาจงงงวยกับคำนี้ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ หมายถึง ตัวแทนในการทำกิจกรรมให้ธุรกิจหรือก็คือ ดารา นัดแสดง ผู้ที่มีชื่อเสียงนั่นเอง เพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก สะท้อนภาพลักษณ์ตัวคนของแบรนด์ได้ชัดเจน สามารถเพิ่มยอดขายได้เพิ่มมากขึ้นจากการโปรโมทสินค้า
เมื่อ Brand Community เป็นตัวที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจสามารถพัฒนาต่อไปได้
แล้วทำอย่างไรถึงจะใช้ Brand Community ได้โดนใจลูกค้า เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด Ketshopweb มีคำตอบ ไปดูกัน
Destination and Goal
ตั้งเป้าหมาย "ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง" การสร้างแบรนด์คอมมูนิตี้สิ่งที่สำคัญอันดับแรกคือ การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ยิ่งเป้าหมายชัดเจนมากเท่าไร่ แบรนด์ก็จะสามารถสะท้อนความเป็นแบรนด์ออกมาได้มากขึ้นเท่านั้น ส่วนปัจจัยอื่น ๆ เช่น กลยุทธ์ สินค้าและบริการ จะสามารถสะท้อนตัวตนและเป้าหมายของแบรนด์ออกมาได้น่าสนใจ สร้างการรับรู้ให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี
Interaction
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ "ยิ่งสนิทยิ่งรักมาก" ยิ่งแบรนด์มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ามากเท่าไร่ ยิ่งสร้างความใกล้ชิด สนิทชิดเชื้อกับลูกค้าได้มากเท่านั้น เช่น การสร้างคอนเทนต์ตลกหรือให้ความรู้แบบไม่จริงจัง ๆ ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ได้มากขึ้น ผ่านการกดไลก์ กดแชร์ คอมเมนต์ หรือการสร้างคอมมูนิตี้กลุ่มอัปเดตสินค้าใหม่ โปรโมชั่นโดน ๆ ให้ลูกค้า สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกค้าเหมือนรักแบรนด์เหมือนเป็นเพื่อนสนิทที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว
Feedback
ข้อเสนอแนะ "ฟังมากยิ่งรู้มาก" หลาย ๆ แบรนด์มักจะมองข้ามข้อตำหนิ ติเตียน หรือฟีดแบค จากลูกค้าที่เสนอแนะมาให้ เพราะอาจจะเป็นคำพูดที่ไม่อยากฟัง หรือคิดว่าแบรนด์ของตัวเองดีแล้วเลยไม่จำเป็นต้องฟัง ข้อเสนอแนะ ข้อตำหนิ ติเตียน หรือฟีดแบค เหล่านี้ เปรียบเหมือนคุณครู ผู้ช่วยแนะนำให้แบรนด์ปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
Maintain
รักษาลูกค้าไว้ "สิ่งสำคัญยิ่งต้องรักษา" การมีลูกค้าถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่การรักษาลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ให้นาน ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร แล้วจะต้องทำอย่างไร? ให้สามารถรักษาลูกค้าให้อยู่ได้นาน ๆ แบรนด์จำเป็นจะต้องหมั่นปรับปรุง พัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้งานของลูกค้ามากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องหมั่นหากลยุทธ์มัดใจลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่น สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเก่าใหม่ หรือการถามไถ่การใช้งานต่าง ๆ เหมือนเป็นเพื่อนคนสำคัญที่ต้องรักษาไว้
Adjust
ปรับเปลี่ยน "เปลี่ยนแปลงแต่ไม่เปลี่ยนไป" การปรับเปลี่ยน ปรับปรุงแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นตัวขององค์กรเองหรือสินค้าและบริการเอง ควรพิจารณาว่าการปรับเปลี่ยนควรทำมากหรือทำน้อย แล้วจะกระทบหรือจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์เพื่อให้เหมาะสมกับการปรับปรุงต่างๆ หรือไม่ เช่น การปรับเปลี่ยนโลโก้ เพื่อรีแบรนด์สร้างตัวตนใหม่ จะกระทบภาพลักษณ์องค์กรหรือไม่ หรือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และนโยบายเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้สามารถทำได้ และดีจริงๆ ใช่หรือไม่ เป็นต้น