สาระน่ารู้SEO

ใช้ไฟล์รูปภาพแบบใด ? ให้เว็บไซต์ใช้งานได้เร็วขึ้น

14 ก.ค. 2022, 16:19
ไฟล์รูปภาพถือเป็นจุดเล็กๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเว็บไซต์ได้ไม่ใช่น้อย แล้วอย่างนี้ต้องใช้ไฟล์รูปภาพแบบใด ? ให้เว็บไซต์ใช้งานได้เร็วขึ้น

หากพูดถึงไฟล์รูปภาพหลาย ๆ คนคงนึกถึงไฟล์ภาพลงท้ายด้วยนามสกุล JPG หรือ PNG นอกจากนั้นเรื่องความละเอียดของไฟล์ภาพก็ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำเว็บไซต์หรือเจ้าของธุรกิจเหมือนกัน เพราะนามสกุลต่อท้ายไฟล์ภาพ มีผลต่อประสิทธิภาพของเว็บไซต์เป็นอย่างมาก 

โดยพื้นฐานแล้วการใช้ไฟล์รูปภาพในคอนเทนต์บนเว็บไซต์จะใช้งานอยู่ที่ 80% ในขณะเดียวกันการดาวน์โหลดไฟล์ภาพผ่านอินเทอร์เน็ตจะใช้งานการโหลดอยู่ที่  95% ทั้งนี้หากใช้ไฟล์ภาพที่เหมาะสมจะสามารถช่วยให้เว็บไซต์มีคะแนนที่ดีติดอันดับการค้นหาได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ส่วนจะมีไฟล์ภาพใดบ้างที่เหมาะแก่การนำมาใช้งาน ไปดูกัน

 

1. JPEG (.jpg/jpeg)

ไฟล์ภาพสุดฮิตที่เหล่าคนทำเว็บและเจ้าของธุรกิจต่างใช้ไฟล์นี้กันทั้งนั้น ซึ่งถูกพัฒนาโดยกลุ่ม Joint Photographic Experts Group ไฟล์ JPG นี้มีการบีบอัดให้มีขนาดเล็กและได้ไฟล์ที่มีความคมชัด อีกทั้งช่วยประหยัดพื้นที่ในเว็บไซต์ได้อีกด้วย

 


ข้อดี : ไฟล์มีขนาดเล็กทำให้ประหยัดพื้นที่ 

ข้อเสีย : ไฟล์มีขนาดจำกัด ไม่สามารถแก้ไขรูปได้ตามต้องการ เมื่อปรับขนาดขยายภาพอาจทำให้ไม่ชัดหรือภาพแตกได้

 


2. PNG

PNG ย่อมาจาก Portable Network Graphics เป็นไฟล์ภาพคุณภาพดีเนื่องจาก ใช้วิธีการบีบอัดไฟล์แบบ Deflate ที่ไม่มีการสูญเสียข้อมูลระหว่างบีบอัด (Lossless) ทำให้ไฟล์รูป PNG มีคุณภาพสูงกว่า JPEG และคมชัดกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่ในขณะเดียวกันการที่ภาพมีความคมชัดก็อาจจะทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่ด้วยเช่นกัน เช่น ภาพ Logo, ภาพที่มีข้อความ และภาพพื้นหลังโปร่งใส

 


ข้อดี : ภาพมีความคมชัดและสามารถบันทึกภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้ ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน

ข้อเสีย :  เนื่องจากไฟล์มีขนาดใหญ่อาจจะดาวน์โหลดไฟล์ลงเว็บไซต์ได้ยาก ในกรณีที่เว็บไซต์รองรับไฟล์ขนาดเล็ก

 

3. WebP (.webp)  

WebP หรือ เว็บพี คือ มาตรฐานไฟล์ภาพของ Google ถือเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับใช้งานบนเว็บไซต์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กกว่า JPEG เพียงเล็กน้อย ดังนั้นรูปภาพที่อัปโหลดขึ้นเว็บไซต์จึงมีความคมชัดมาก


 

ข้อดี : เนื่องจากเป็นไฟล์ภาพที่เหมาะกับเว็บไซต์ ทำให้การใช้งานเว็บไซต์สะดวกและรวดเร็วขึ้น ไม่มีปัญหาภาพค้างหรืออัปโหลดไม่ได้

ข้อเสีย :  เนื่องจากเป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับการใช้งานในเว็บไซต์จึงทำให้ขั้นตอนการโหลดไฟล์ต้องแปลงไฟล์ก่อนจึงจะสามารถดาวน์โหลดได้


4. SVG (.svg)  

SVG ย่อมาจาก Scalable Vector Graphics เป็นไฟล์กราฟิกแบบเวกเตอร์ที่ปรับขนาดได้  แสดงผลด้วย pixel โดยเป็นการวาดเวกเตอร์ด้วย code หนึ่งชุดที่นำมาผ่านกระบวนการคำนวณ เหมาะแก่การพิมพ์รูปภาพขนาดใหญ่ เช่น เสื้อยืด ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่  ทำให้ภาพมีขนาดเล็กมากสามารถขยายใหญ่เท่าไร่ก็ได้โดยที่ไฟล์ภาพไม่แตก

 


ข้อดี : สามารถปรับขนาดภาพได้โดยไม่เสียความคุณภาพของไฟล์ นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มไฟล์ไปยัง HTML ได้โดยตรง

ข้อเสีย :  ไม่เหมาะแก่ภาพที่มีความละเอียดสูงเนื่องจากอาจทำให้เว็บไซต์ด้อยประสิทธิภาพลงได้

 


Ketshopweb | ระบบร้านค้าออนไลน์ ขายคล่อง ส่งสะดวก ครบในที่เดียว

www.ketshopweb.com

เรายินดีให้คำปรึกษาการทำเว็บไซต์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อมาที่ 02-038-5588 , email : sales@ketshopweb.com

เปิดร้านค้าออนไลน์ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง
logo ketshopweb svg
ทดลองใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
สนใจปรึกษา สำหรับคำแนะนำแพ็กเกจที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ
เพื่อต่อยอดการขาย และขยายฐานลูกค้า ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
โทร. 02-038-5588
เฉพาะวันทำการ ตั้งแต่เวลา 9:30 - 18:30 น.